ประวัติกีฬาเนตบอล
กีฬาเนตบอลพัฒนามาจากกีฬาบาสเกตบอล โดยเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1891 ณ เมืองสปริงฟิลด์
( Springfield ) มลรัฐแมสซาซูเซทส์ ( Massachusetts ) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชาวแคนาเดี่ยน ชื่อ James Naismith ซึ้งสร้างเกมนี้เพื่อให้เล่นในร่ม ต่อมาเกมนี้มีชื่อเรียกว่า บาสเกตบอล ซึ่งลำดับต่อมา Clara Bear ครูสอนกีฬาในเมืองนิวออรีลส์ ( New Orleans ) ได้เขียนหนังสือถึง James Naismith เพื่อขอต้นฉบับกติกา และคิดที่จะทำเกมกีฬาขึ้นมาใหม่ โดยมีการเขียนเส้นขวางสนามเพื่อใช้กำหนดพื้นที่การเล่น ผู้เล่นไม่สามารถออกนอกพื้นที่การเล่นของตนเองได้ แต่เกมกีฬาดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1895 กีฬาเนตบอลเริ่มในประเทศอังกฤษ ณ มาดาม ออสเทนบิวรี่วิทยาลัย ( Madame Ostenbury’s College ) และมีจำนวนผู้เล่นกีฬาเนตบอลมากขึ้นตามลำดับ ประมาณครึ่งศตวรรษที่ 20 กีฬาเนตบอลได้มีการเริ่มเล่นในประเทศต่างๆที่อยู่ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ แต่ไม่มีมาตรฐานของกฎ กติกา การเล่นที่แน่นอน บางครั้งเล่นข้างละ 9 คน บางครั้งเล่นข้างละ 5 คน
ในปี ค.ศ. 1957 ระหว่างที่ชาวออสเตรเลียได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศอังกฤษ ได้มีการอภิปรายถึงมาตรการของกฎ กติกาการเล่น และท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการจัดประชุมขึ้น ณ ประเทศศรีลังกา โดยมีตัวแทนจากประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาฟริกาใต้ และอินเดียตะวันตก ได้ร่วมกันก่อตั้งเป็น สหพันธ์บาสเกตบอลและเนตบอลผู้หญิงนานาชาติ ( The International Federation of Women’s Basketball and Netball ) กีฬาเนตบอลมีกฎ กติกา อย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้น และได้มีมติให้จัดการแข่งขันแชมป์โลกทุกๆ 4 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 สมาคมกีฬาเนตบอลประเทศออสเตรเลียได้มีการปรับปรุงเกมการเล่น และกำหนดชื่อกีฬาชนิดนี้อย่างเป็นทางการว่า “กีฬาเนตบอล” การเล่นมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยมากขึ้นโดยเน้นที่ความเร็วและความตื่นเต้นตลอดเกมการแข่งขัน
ปัจจุบันมีสหพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาเนตบอลอยู่ 2 สหพันธ์ คือ สหพันธ์กีฬาเนตบอลนานาชาติ
ในปี ค.ศ. 1895 กีฬาเนตบอลเริ่มในประเทศอังกฤษ ณ มาดาม ออสเทนบิวรี่วิทยาลัย ( Madame Ostenbury’s College ) และมีจำนวนผู้เล่นกีฬาเนตบอลมากขึ้นตามลำดับ ประมาณครึ่งศตวรรษที่ 20 กีฬาเนตบอลได้มีการเริ่มเล่นในประเทศต่างๆที่อยู่ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ แต่ไม่มีมาตรฐานของกฎ กติกา การเล่นที่แน่นอน บางครั้งเล่นข้างละ 9 คน บางครั้งเล่นข้างละ 5 คน
ในปี ค.ศ. 1957 ระหว่างที่ชาวออสเตรเลียได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศอังกฤษ ได้มีการอภิปรายถึงมาตรการของกฎ กติกาการเล่น และท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการจัดประชุมขึ้น ณ ประเทศศรีลังกา โดยมีตัวแทนจากประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาฟริกาใต้ และอินเดียตะวันตก ได้ร่วมกันก่อตั้งเป็น สหพันธ์บาสเกตบอลและเนตบอลผู้หญิงนานาชาติ ( The International Federation of Women’s Basketball and Netball ) กีฬาเนตบอลมีกฎ กติกา อย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้น และได้มีมติให้จัดการแข่งขันแชมป์โลกทุกๆ 4 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 สมาคมกีฬาเนตบอลประเทศออสเตรเลียได้มีการปรับปรุงเกมการเล่น และกำหนดชื่อกีฬาชนิดนี้อย่างเป็นทางการว่า “กีฬาเนตบอล” การเล่นมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยมากขึ้นโดยเน้นที่ความเร็วและความตื่นเต้นตลอดเกมการแข่งขัน
ปัจจุบันมีสหพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาเนตบอลอยู่ 2 สหพันธ์ คือ สหพันธ์กีฬาเนตบอลนานาชาติ
( The International Federation of Netball Associations : IFNA ) มีที่ทำการอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมีประธานสหพันธ์ชื่อ Mrs.Molly Rhone เป็นชาวจาไมก้า ซึ่งสามารถจะสืบค้นข้อมูลต่างๆได้จาก http://www.netball.org และสหพันธ์กีฬาเนตบอลแห่งเอเชีย ( The Asian Federation Netball Association : AFNA ) มีที่ทำการอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ มีประธานสหพันธ์ชื่อ Mrs.Ivy Singh-Lim เป็นชาวสิงคโปร์
สำหรับสมาคมเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นมาเนื่องจากในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 ณ ประเทศมาเลเซีย ได้บรรจุกีฬาเนตบอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขัน ดังนั้น จึงได้มีการก่อตั้งสมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายวิจิตร เกตุแก้ว นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นคนแรก นายทินกร นำบุญจิตต์ และเลขาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร. สุปราณี ขวัญบุฯจันทร์ มีที่ทำการสมาคมอยู่ที่สนามกีฬารัชมังคลาสนามกีฬาแห่งชาติ โซนอี ห้อง 220 การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก สนามกีฬาเนตบอลสมัครเล่นได้รับการพิจารณาจากการกีฬาแห่งประเทศไทย อนุมัติให้สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่น ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ได้ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ในปัจจุบันสมาคมฯ จึงมีชื่อเรียกว่า “สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย” หรือ ส.ก.น. มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ The Netball Association of Thailand” หรือ N.A.T. การดำเนินกิจกรรมของสมาคม ฯยังดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่องเพื่อจะทำให้กีฬาเนตบอลเป็นที่รู้จัก เผยแพร่ของประชาชนคนไทย โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดฝึกอบรมผู้ฝึกสอน การฝึกอบรมผู้ตัดสิน การเข้าร่วมจัดการแข่งขันกีฬาเนตบอลในกีฬาวิทยาลัยพลศึกษา การแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยยังได้จัดการแข่งขันกีฬาเนตบอลในระดับต่าง ๆ เช่น การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นต้น
การแข่งขันระดับนานาชาติจะเล่นโดยมีผู้เล่น 2 ทีม ทีมละ 7 คน การเล่นโดยส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะการส่ง หรือ ขว้างบอล และการรับบอล โดยปกติจะเป็นการเล่นของผู้หญิง แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการฝึกเล่นในผู้ชายแล้ว สนามยาว 100 ฟุต กว้าง 50 ฟุต
การแข่งขันโดยพื้นฐานต้องมีการยิงประตูให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในขณะเดียวกันต้องพยายามป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามได้คะแนน การยิงประตูกระทำได้ในพื้นที่ที่กำหนด โดยบอลต้องผ่านห่วงประตูโดยสมบูรณ์ ความสูงของเสาประตูสูง 3.05 เมตร ( 10 ฟุต )
การแข่งขันประกอบด้วย 4 ควอเตอร์ ควอเตอร์ละ 15 นาที พัก 3 นาที ระหว่างควอเตอร์ที่ 1 และ 2 และควอเตอร์ที่ 3 และ 4 และพัก 15 นาทีระหว่างควอเตอร์ที่ 2 และ 3 ตำแหน่งของผู้เล่นจะต้องเล่นในพื้นที่ระบุในแต่ละตำแหน่ง ผู้เล่นสามารถรับบอลได้ทั้งสองมือและมือเดียว และต้องส่งบอล หรือยิงประตูภายใน 3 วินาที เนตบอลเป็นกีฬาที่ไม่ปะทะและไม่อนุญาตให้ผู้เล่นเข้าปะทะ หรือ รบกวน ในขณะที่ผู้เล่นทีมตรงข้ามกำลังเล่นบอลอยู่ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
สำหรับสมาคมเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นมาเนื่องจากในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21 ณ ประเทศมาเลเซีย ได้บรรจุกีฬาเนตบอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขัน ดังนั้น จึงได้มีการก่อตั้งสมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายวิจิตร เกตุแก้ว นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นคนแรก นายทินกร นำบุญจิตต์ และเลขาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร. สุปราณี ขวัญบุฯจันทร์ มีที่ทำการสมาคมอยู่ที่สนามกีฬารัชมังคลาสนามกีฬาแห่งชาติ โซนอี ห้อง 220 การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก สนามกีฬาเนตบอลสมัครเล่นได้รับการพิจารณาจากการกีฬาแห่งประเทศไทย อนุมัติให้สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่น ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ได้ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ในปัจจุบันสมาคมฯ จึงมีชื่อเรียกว่า “สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย” หรือ ส.ก.น. มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ The Netball Association of Thailand” หรือ N.A.T. การดำเนินกิจกรรมของสมาคม ฯยังดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่องเพื่อจะทำให้กีฬาเนตบอลเป็นที่รู้จัก เผยแพร่ของประชาชนคนไทย โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดฝึกอบรมผู้ฝึกสอน การฝึกอบรมผู้ตัดสิน การเข้าร่วมจัดการแข่งขันกีฬาเนตบอลในกีฬาวิทยาลัยพลศึกษา การแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้สมาคมกีฬาเนตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยยังได้จัดการแข่งขันกีฬาเนตบอลในระดับต่าง ๆ เช่น การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นต้น
การแข่งขันระดับนานาชาติจะเล่นโดยมีผู้เล่น 2 ทีม ทีมละ 7 คน การเล่นโดยส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะการส่ง หรือ ขว้างบอล และการรับบอล โดยปกติจะเป็นการเล่นของผู้หญิง แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการฝึกเล่นในผู้ชายแล้ว สนามยาว 100 ฟุต กว้าง 50 ฟุต
การแข่งขันโดยพื้นฐานต้องมีการยิงประตูให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในขณะเดียวกันต้องพยายามป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามได้คะแนน การยิงประตูกระทำได้ในพื้นที่ที่กำหนด โดยบอลต้องผ่านห่วงประตูโดยสมบูรณ์ ความสูงของเสาประตูสูง 3.05 เมตร ( 10 ฟุต )
การแข่งขันประกอบด้วย 4 ควอเตอร์ ควอเตอร์ละ 15 นาที พัก 3 นาที ระหว่างควอเตอร์ที่ 1 และ 2 และควอเตอร์ที่ 3 และ 4 และพัก 15 นาทีระหว่างควอเตอร์ที่ 2 และ 3 ตำแหน่งของผู้เล่นจะต้องเล่นในพื้นที่ระบุในแต่ละตำแหน่ง ผู้เล่นสามารถรับบอลได้ทั้งสองมือและมือเดียว และต้องส่งบอล หรือยิงประตูภายใน 3 วินาที เนตบอลเป็นกีฬาที่ไม่ปะทะและไม่อนุญาตให้ผู้เล่นเข้าปะทะ หรือ รบกวน ในขณะที่ผู้เล่นทีมตรงข้ามกำลังเล่นบอลอยู่ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
กติกากีฬาเนตบอล
การเล่นเริ่มเล่นโดยตำแหน่ง C เปิดบอลให้ ตำแหน่ง GA หรือ WA ซึ่งต้องยืนอยู่ในตำแหน่ง
เริ่มเล่น หลังสัญญานนกหวีดเริ่มเล่นของกรรมการ ผู้ตัดสินผู้เล่นทุกตำแหน่งต้องเล่นแต่เฉพาะเขตพื้นที่ ที่กติกากำหนดให้เล่น โดยมีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามประกบเป็นคู่ตำแหน่งคอยป้องกันตัดบอล แย่งบอล เพื่อเปลี่ยนเป็นฝ่ายรุกไปยิงห่วง ทำประตูโดยตำแหน่ง GS และ GA เป็นตำแหน่งทำหน้าที่ยิงประตูซึ่งมีพื้นที่การเล่นคือเขตประตูของฝ่ายตรงข้าม ตรงกันข้ามกับฝ่ายรับก็มีผู้เล่นตำแหน่ง GD และ GK เป็นตำแหน่งที่คอยประกบคู่ป้องกันในเขตประตู และแย่งบอลปรับเปลี่ยนเป็นฝ่ายรุก สำหรับแดนกลางจะมีตำแหน่ง C เป็นตำแหน่งแดนกลาง เชื่อมโยงการเล่นทั้งในเกมรุกและเกมรับ และมีตำแหน่งผู้เล่นด้านข้าง อีกสองตำแหน่ง คือ WAช่วยในแดนรุก และ WD ช่วยในแดนรับรับ รวมผู้เล่นทั้งทีม ทีมละ 7 คน
เริ่มเล่น หลังสัญญานนกหวีดเริ่มเล่นของกรรมการ ผู้ตัดสินผู้เล่นทุกตำแหน่งต้องเล่นแต่เฉพาะเขตพื้นที่ ที่กติกากำหนดให้เล่น โดยมีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามประกบเป็นคู่ตำแหน่งคอยป้องกันตัดบอล แย่งบอล เพื่อเปลี่ยนเป็นฝ่ายรุกไปยิงห่วง ทำประตูโดยตำแหน่ง GS และ GA เป็นตำแหน่งทำหน้าที่ยิงประตูซึ่งมีพื้นที่การเล่นคือเขตประตูของฝ่ายตรงข้าม ตรงกันข้ามกับฝ่ายรับก็มีผู้เล่นตำแหน่ง GD และ GK เป็นตำแหน่งที่คอยประกบคู่ป้องกันในเขตประตู และแย่งบอลปรับเปลี่ยนเป็นฝ่ายรุก สำหรับแดนกลางจะมีตำแหน่ง C เป็นตำแหน่งแดนกลาง เชื่อมโยงการเล่นทั้งในเกมรุกและเกมรับ และมีตำแหน่งผู้เล่นด้านข้าง อีกสองตำแหน่ง คือ WAช่วยในแดนรุก และ WD ช่วยในแดนรับรับ รวมผู้เล่นทั้งทีม ทีมละ 7 คน
การเล่นเนตบอลใกล้เคียงกับการเล่นแชร์บอล คือการใช้ทักษะ การรับบอล การส่งบอลลักษณะต่าง ๆ เป็นหลักในการเล่น กติกากำหนดให้ฝ่ายป้องกันต้องอยู่ห่างจากฝ้ายครอบครองบอล 3 ฟุต การถูกตัวฝ่ายตรงข้ามห้ามโดยเด็ดขาด การเข้าสกัดกั้น ฝ่ายตรงข้ามทำได้ในแนวกายวิภาค ไม่มีการตัดบอลขณะคู่ต่อสู้ยิงห่วงประตู ผู้ครอบครองบอลต้องเล่นบอลภายในเวลา 3 วินาที การแข่งขันแบ่งเวลาเป็นสองครึ่งเวลา ครึ่งเวลา 15 - 20 นาที ฝ่ายใดยิงบอลเข้าห่วงจะได้ 1 คะแนน เมื่อหมดเวลาแข่งขันฝ่ายใด
ได้คะแนนมากกว่าเป็นฝ่า
กติกาการแข่งขันกีฬาเนตบอล การเล่นเนตบอลมีลักษณะคล้าย บาสเกตบอล การทำผิดก็คล้าย ๆ กัน เช่น การฟาล์ว , วอล์คกิ้ง, ดับเบิลบอล , คิ๊กกิ้ง แต่การเรียกการผิดกติกาแตกต่างกันและมีกติกาอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามลักษณะพิเศษของกีฬาเนตบอล เช่น Stepping , Contact , Offside , Over a third , Held ball 3 second , Toss up เป็นต้น
ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเนตบอล
กีฬาเนตบอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์ดังนี้
๑. ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์และสังคมแก่บุคคล
๒. ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor skills) ให้ทำงานประสาน
กันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง
๓. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียด แก่ผู้เล่นและผู้ชม
๔. ช่วยฝึกการตัดสินใจ และรู้จักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิที่ดี
๕. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักให้อภัย
๖. ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม
๗. ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา
๘. ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ
๙. เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาเนตบอลอาชีพ เป็นต้น
ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาเนตบอล
การเล่นกีฬาเนตบอลเป็นการเล่นหลายคนและเล่นด้วยความรวดเร็วต้องใช้ความคล่องตัวสูงในสนามที่มีเนื้อที่จำกัด ฉะนั้นผู้เล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของการเล่นเพื่อความปลอดภัยในการเล่นกีฬาเนตบอล ผู้เล่นจึงควรมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. ควรมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะเล่น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอันตรายจากการออก
กำลังกาย
๒. ก่อนการเล่นควรตรวจสภาพของสนามให้เรียบร้อยมั่นคง แข็งแรง พื้นสนามต้องเรียบ
ไม่ลื่น ไม่มีหลุม บ่อ ไม่มีสิ่งกีดขวาง เสาและห่วงประตูอยู่ในสภาพใช้งานได้
๓. ต้องแต่งกายชุดเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการเล่นเนตบอล สวมเสื้อ กางเกง ถุงเท้า
รองเท้า ที่ไม่หลวม หรือคับเกินไป
๔. ลูกบอลต้องไม่อ่อน หรือแข็งเกินไป
๕. ในการเล่นต้องปฏิบัติตามกติกาโดยเคร่งคัด ไม่ล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งเพื่อนระหว่าง
การเล่นหรือขณะฝึกซ้อม
๖. ไม่เล่นหรือฝึกซ้อมจนเกินกำลังความสามารถของร่างกาย
๗. ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้เล่นอื่น และเพื่อป้องกันอันตรายขณะ
รับลูกบอล
๘. ควรฝึกจากทักษะที่ง่าย ไปหาทักษะที่ยาก หรือฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป
๙. ไม่เล่นในที่มืด หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ
๑๐.ไม่ควรฝึกในสนามกลางแจ้ง แดดร้อนจัด หรือฝนตกฟ้าร้อง
๑๑.ไม่ใส่เครื่องประดับเช่น นาฬิกา แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอหรือเข็มขัด เพราะจะเป็น
อันตรายแก่ตนเอง และผู้อื่นได้
๑๒.ไม่ควรใส่แว่นตาระหว่างการเล่น ถ้าจำเป็นควรใช้แว่นที่เป็นพลาสติก หรือชนิดที่ไม่
แตก และให้มียางรัดติดกับท้ายทอยด้วย
๑๓.ในกรณีที่จะมีการแข่งขัน ควรฝึกซ้อมให้ร่างกายมีสมรรถภาพดีพร้อมที่จะเข้า
แข่งขันได้
๑๔.ถ้าตนเองไม่ได้ฝึกซ้อม หรือฝึกซ้อมไม่เพียงพอไม่ควรลงแข่งขันโดยเด็ดขาด
การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬาเนตบอล
๒. อุปกรณ์การเล่นเมื่อเลิกเล่นแล้วต้องสำรวจดูให้ครบถ้วนและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
๓. ห้ามกระโดดเกาะ โยกเสาประตูหรือห้อยโหนห่วงประตูเล่น
๔. จัดเวรนำอุปกรณ์ และเก็บอุปกรณ์ไปไว้ในที่เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ
๕. ลูกเนตบอลควรสูบลมให้มีความแข็งถูกต้องตามกติกา
๖. ในการปล่อยลมลูกเนตบอลไม่ควรใช้ไม้ ลวด ตะปู หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่ใช่เครื่องปล่อยลม
๗.ห้ามนำลูกเนตบอลไปเล่นผิดประเภทกีฬา เช่นนำไปเตะ
๘. ถ้าลูกเนตบอลเปียกน้ำหรือเปรอะเปื้อนให้เช็ดทำความสะอาดเก็บไว้ในที่ร่ม
มีลมพัดผ่านแทนการผึ่งแดด
๙. รักษาพื้นสนามให้เรียบ สะอาด และเส้นสนามควรชัดเจนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเล่น
๑๐.สำรวจเสาประตู กระดานหลัง หรือห่วงให้แน่นหนาแข็งแรง และปลอดภัย
๑๑.ตาข่ายควรใช้เทปหรือลวดพันยึดให้ติดแน่นกับห่วงประตูอยู่เสมอ
๑๒.สนับเข่า ผ้าพันข้อเท้า ชุดฝึกหรือชุดแข่งขันควรซัก และตากให้แห้งและอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ได้เสมอ
มารยาทของผู้เล่นและผู้ดูกีฬาเนตบอลที่ดี
มารยาทของผู้เล่นกีฬาเนตบอลที่ดี
๑. มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น
๒. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมต่อการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาเนตบอล
๓. เล่นกีฬาด้วยความสนุกสนานและมีมารยาท มีความสุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด
๔. ให้เกียรติและเชื่อฟัง ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
๕. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย
๖. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา
๗. ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่น จะด้วยวาจาหรือท่าทาง
๘. ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่น เล่นได้ดี
๙. ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด
๑๐. ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
๑๑. ต้องเล่นตามระเบียบตามกติกาที่กำหนดไว้
๑๒. เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอน และต้องปฏิบัติตาม
๑๓. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย
๑๔. รู้จักระงับอารมณ์เมื่อเกิดการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม
๑๕. ไม่ครอบครองลูกบอลแต่เพียงผู้เดียวต้องแจกจ่ายให้เพื่อนร่วมทีมบ้าง
๑๖. เมื่อเล่นกีฬาแพ้หรือชนะไม่ควรดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
๑๗. การเล่นกีฬาต้องเล่นอย่างสุดความสามารถไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายแ้พ้หรือชนะ
๑๘. หลังจากการแ่ข่งขันแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะจะต้องฝึกซ้อมให้ดียิ่งขึ้น
๑๙. มีความตั้งใจในการฝึกซ้อม และมีความอดทน
๒๐. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ในขณะฝึกซ้อมหรือแข่งขัน
๒๑. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
มารยาทของผู้ชมกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
๑. ปรบมือแสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นได้ดี ผู้เล่นมีมารยาทดี ทีมชนะการแข่งขันหรือผู้เล่น
ที่ได้รับรางวัล
๒. ไม่แสดงอาการหรือส่งเสียงยั่วยุจนทำให้ผู้เล่นหรือกองเชียร์ฝ่ายตรงข้ามเกิดโทสะ
๓. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่า ใช้สิ่งของขว้างปานักกีฬา ผู้ตัดสิน ผู้ชม
หรือคัดค้านการตัดสิน
๔. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเสพเครื่องดื่มมึนเมาขณะชมการแข่งขัน
๕. ไม่แสดงกริยาท่าทาง ส่งเสียง ยั่วยุอันเป็นอุปสรรคต่อการเล่นของผู้เล่น และผู้ตัดสิน
๖. นั่งดูด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ที่จัดไว้ ไม่ยืนเกะกะบังผู้อื่น
๗. ปรบมือให้เกียรติเมื่อกรรมการผู้ตัดสินและนักกีฬาลงสนาม
๘. ควรศึกษากฏกติกาการแข่งขันกีฬาที่ตนดูเป็นอย่างดี
๙. การชมเป็นหมู่คณะ ควรนั่งรวมกันเป็นกลุ่มและเชียร์ด้วยเพลงสุภาพ
๑๐.ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในเมื่อเกิดเหตุความวุ่นวายในสนาม
๑๑. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกชนิดเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ
๑๒. ไม่ควรเปล่งวาจาสนับสนุนผู้เล่นในทางที่ผิด
ความเป็นผุ้มีน้ำใจนักกีฬา
ลักษณะของความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาคือ จะแพ้ หรือชนะไม่สำคัญ ข้อสำคัญคือได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน และได้ทำการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ เชื่อฟังผู้ตัดสิน ไม่ฝ่าฝืนกฏกติกาของการเล่น รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ฯลฯ ซึ่งมีหลักการปฏิบัติเพื่อแสดง ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา คือ
๒. ซื่อสัตย์สุจริตต่อคู่แข่งขัน และเพื่อนฝูง
๓. เป็นผู้รู้จักข่มใจ รักษาสติไม่ให้โมโหโทโส
๔. เป็นผู้ที่รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ
๕. หากปราชัยก็ทำใจให้หนักแน่น
๖. หากมีชัยก็ไม่แสดงความภูมิใจจนออกนอกหน้า
๗. เป็นผู้ที่ผุดผ่องทั้งกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ
๘. เล่นกีฬาเพื่อชั้นเชิงของการกีฬา ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อจะทะเลาะวิวาทกัน
๙. เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผือแผ่
๑๐.เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
๑๑.เป็นผู้มีใจคอกว้างขวาง
๑๒.เป็นผู้มีความอดทน กล้าหาญ
๑๓.เป็นผู้มีความเชื่อฟังและเคารพต่อเหตุผล
๑๔.เป็นผู้รักษาความยุติธรรม
๑๕.เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
คลิปวีดีโอ กีฬาเนตบอล
จบการนำเสนอ |